จากเหตุการณ์อุทกภัยในภาคเหนือหลายจังหวัด เกิดปริมาณน้ำสะสมจากเหตุฝนตกหนัก ทำให้น้ำในแม่น้ำสายสำคัญของ 4 สาย ต้องมีการระบายน้ำลงมาสู่ตอนล่างของประเทศ
ภาคเหนือมีแม่น้ำ 4 สายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปิง มีเขื่อนภูมิพล จ.ตาก กั้นอยู่ แม่น้ำน่าน มีเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ กั้นอยู่ แม่น้ำวัง มีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง กั้นอยู่ ส่วนแม่น้ำยมนั้นไม่มีเขื่อนกั้น หากฝนตกมากน้ำจะท่วมจังหวัดพะเยา แพร่ สุโขทัย และพิษณุโลก โดย ปิง วัง ยม น่าน จะไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ต.ชุมแสง อ.ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์
แม่น้ำเจ้าพระยาจะไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี โดยมีแม่น้ำสะแกกรัง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านจังหวัดชัยนาท โดยมีเขื่อนเจ้าพระยากั้นกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอสรรพยา โดยกรมชลประทานจะเป็นฝ่ายดุแลการเปิดปิดประตูระบายน้ำตามที่กำหนด
จากนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งที่นี่จะมีแม่น้ำป่าสัก ที่มาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ระบายมายังอยุธยาผ่านเขื่อนพระรามหก และมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าวัดพนัญเชิง แล้วไหลไปสู่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพญ ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ อำเภอปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ
อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ อาจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้ระบุถึงโอกาสน้ำเข้าท่วมกรุงเทพฯ นั้น ปัจจัยหลักเกิดจาก มวลน้ำจากภาคเหนือไหลลงมา ซึ่งภาคเหนือมีเขื่อนเก็บกักน้ำอยู่ยกเว้นแม่น้ำยม หากฝนตกลงมามากและมวลน้ำมีมากไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.13 ที่จังหวัดชัยนาท
หากระบายน้ำออกจากเขื่อนเจ้าพระยาเฉลี่ย 2800-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา มีน้ำท่วมมากขึ้น และหากมีการตรวจวัดที่สถานีสูบน้ำ C.29 ที่สถานีหน้าศูนย์ศิลปชีพบางไทรเกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงจังหวัดปทุม ธานี นนทบุรีถึงกรุงเทพฯ มีระดับสูงขึ้นเกิน 1 เมตรจากปกติน้ำน้ำจะล้นตลิ่ง