อัปเดตเส้นทาง “พายุไต้ฝุ่นหยินซิ่ง” ล่าสุด พายุนี้ยังแรง

อัปเดตเส้นทาง "พายุไต้ฝุ่นหยินซิ่ง" ล่าสุด พายุนี้ยังแรง
กรมอุตุนิยมวิทยาอัปเดตสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง (YINXING)” ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์) เวลา 04.00น. วันนี้(8/11/67) : เช้าวันนี้พายุนี้ได้เคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนแล้ว

อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่นหยินซิ่ง ล่าสุด พายุนี้ยังแรง

พายุนี้ยังแรงเนื่องจากยังอยู่ในทะเล แต่ทิศทางยังมีเปลี่ยนแปลง เคลื่อนตัวมาในขณะที่มวลอากาศเย็นยังแผ่ลงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และคาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม จึงยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในขณะนี้

อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่นหยินซิ่ง ล่าสุด พายุนี้ยังแรง

ด้านพยากรณ์อากาศประเทศไทย 24 ชั่วโมงข้างหน้า ระบุ

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ และลดลงเล็กน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีฝนบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง “พายุไต้ฝุ่นหยินซิ่ง” บริเวณสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 67 คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *